แมวตัวร้อน

แมวตัวร้อน กับ 5 ขั้นตอนรับมือเมื่อน้องแมวตัวร้อน

5 ขั้นตอนรับมือเมื่อน้องแมวตัวร้อน

                การเจ็บป่วยเป็นไข้เป็นเรื่องที่น้องแมวมีโอกาสเสี่ยงได้เหมือนๆ กับทาสอย่างเรา ไม่ว่าจะมาจากสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ รวมถึงการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมล้วนส่งผลให้น้องแมวเจ็บไข้ได้ป่วยได้ เพราะแบบนั้นเหล่าทาสที่ต้องเผชิญหรืออาจจะเผชิญเหตุการณ์เหล่านั้นในอนาคตจึงต้องตั้งสติแล้วดูวิธีดูแลปฏิบัติกับน้องแมวตัวร้อนที่อาจจะป่วยเป็นไข้ ดังนี้

  1. สังเกตอาการที่ผิดปกติไปของน้องแมว

อาการที่น้องแมวตัวร้อนขึ้นอาจไม่สามารถบอกได้ว่านอนเจ็บป่วยแล้ว เพราะงั้นต้องสังเกตร่วมด้วยกับอาการเซื่องซึม เบื่ออาหาร หรือในแมวบางตัวอาจปลีกตัวแยกไปหาที่นอนเลยก็ได้

  • วัดไข้

การวัดไข้เมื่อน้องแมวตัวร้อนผิดปกติด้วยปรอทวัดไข้สำหรับสัตว์เป็นเรื่องที่จะสามารถยืนยันกับเราได้อีกจุดว่าน้องกำลังป่วยอยู่หรือเปล่า ซึ่งการวัดไข้เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยการเสียมปรอทวัดไข้เข้าไปที่ก้นของน้องแมวให้ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร เป็นเวลา 1-2 นาที ซึ่งโดยปกติอุณหภูมิของน้องแมวจะอยู่ที่ 101-102.5 องศาฟาเรนไฮน์ หรือราวๆ 38.5-39.5 องศาเซลเซียส

ข้อควรระวัง

  • ในการเสียบปรอทต้องเสียบในแนวราบหรือแนว 90 องศา อย่าทแยงเพราะไม่งั้นน้องอาจเจ็บหรือรำคาญได้
  • อย่าเอาปรอทใส่ปากน้องแมวเพื่อวัดไข้ เพราะน้องอาจกัดจนปรอทแตกได้ ทำให้ได้รับพิษจากปรอท
  • ไม่ควรใช้ปรอทวัดไข้คน เพราะค่าความแม่นยำอาจคาดเคลื่อน ซึ่งนั้นหมายถึงชีวิตที่ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นของน้อง
  • วิเคราะห์หลังวัดอุณหภูมิ

น้องแมวตัวร้อนจนถึงขั้นวัดอุณหภูมิได้เกินค่าปกติควรรีบพาน้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด และยิ่งวัดอุณหภูมิได้ถึง 106 องศาฟาเรนไฮน์ขึ้นไป(ราวๆ 41 องศาเซลเซียสขึ้นไป) นั่นหมายถึงภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงชีวิต ต้องรีบนำน้องแมวส่งโรงพยาบาลสัตว์ที่ใกล้ที่สุดทันที

  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้นน้องแมวตัวร้อน

หากบ้านไม่ใกล้หรืออยู่ในสถานที่ที่ห่างไกลโรงพยาบาลสัตว์สิ่งแรกที่ต้องทำคือการลดอุณหภูมิที่สูงนี้ของน้องแมวก่อน โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิปกติเช็ดทั่วตัวโดยเน้นที่อุ้มเท้าและใบหู ซึ่งเป็นจุดที่ระบายความร้อนได้ดีที่สุด หากมีอาการอ้วกร่วมด้วยในเวลา 4-6 ชั่วโมง พยายามให้น้องแมวจิบน้ำทีละนิดแต่บ่อยๆ

ข้อควรระวัง

  • อย่าใช้น้ำเย็นในการเช็ดตัวน้องแมว เพราะอาจทำให้น้องช็อคได้
  • หากตัวเย็นลงจนอุณหภูมิต่ำกว่า 103 องศาฟาเรนไฮน์ หรือ 39.5 องศาเซลเซียสไม่ควรเช็คตัวให้น้องอีก เพราะไม่งั้นอุณหภูมิอาจจะลดต่ำจนกลายเป็นตัวเย็นแทนได้
  • ห้ามให้น้องแมวทานยาที่ใช้กับคนเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น แอสไพลิน ไทลินอล พาราเซตามอน หรืออื่นๆ เพราะไม่งั้นอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตของน้องได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *